เหลือเวลาอีกไม่กี่วันตก็จะถึงวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีรอบสอง ในวันที่ 19 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ หลังจากการโหวตรอบแรกเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้เสียงสนับสนุนไม่เพียงพอที่จะเป็นนายกรัฐมนตรี โดยมี ส.ว.โหวตสนับสนุนจำนวน 13 ราย

วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวี จึงไล่เช็คเสียง 13 ส.ว. ที่เคยยกมือโหวตสนับสนุนให้นายพิธา ในรอบแรก เพื่อถามถึงจุดยืนในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในรอบที่สองอย่างไร

8 พรรคร่วมรัฐบาล ดัน "พิธา" ชิงเก้าอี้นายกฯ รอบ 2

ออกหนังสือ เรียกประชุมรัฐสภา โหวตนายกรัฐมนตรี 19 ก.ค.นี้

โหวตนายก : เปิดรายชื่อ ส.ว.เห็นชอบ โหวต "พิธา" เป็นนายกรัฐมนตรี

โดยพบว่าในจำนวนดังกล่าว มี ส.ว. 5 คน ที่ยังคงยืนยันจะใช้หลักเกณฑ์เดิมในการโหวต คือพร้อมโหวตให้ตามเสียงข้างมาก ได้แก่ พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา, นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล, นายพีระศักดิ์ พอจิต, นายมณเฑียร บุญตัน และนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ซึ่งบางคน ยอมรับว่ามีความกดดันในการตัดสินใจ แต่ก็ยังยึดตามหลักการเดิมยืนยันในจุดยืน

อาทิ นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล สมาชิกวุฒิสภา ที่บอกว่า จะใช้หลักเกณฑ์เดิม ถ้าเสนอคนเดิมมาก็โหวตเหมือนเดิม ตนยึดเรื่องของการที่เขาได้รับการยอมรับจากประชาชนผู้มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง ยึดเสียงส่วนใหญ่ของการเลือกตั้ง เสียงสูงสุดของการเลือกตั้งคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

 โหวตนายก - เช็กเสียง 13 ส.ว.เคยหนุน “พิธา” โหวตนายกฯรอบสองทิศทางใด-

เช่นเดียวยกับ นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกวุฒิสภา ที่บอกว่า ตนใช้หลักเกณฑ์เดิมโดยไม่ต้องดูชื่อคนเลย เพราะหลักเกณฑ์เดิมตนเข้าใจว่าพรรคที่เขาเสนอนายพิธามี 312 เสียง ดังนั้นถ้าจะมีคนเสนอชื่ออื่น เขาต้องมีมากกว่า ซึ่งจะเป็นไปได้หรือเปล่า อันนี้เราไม่รู้

เมื่อถามถึงผลตอบรับหลังจากที่โหวตเห็นชอบนายพิธา ทั้งนายซากีย์ และนายมณเฑียร ตอบคล้ายกันว่า มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย โดยมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ ส่วนตัวเพียงการทำหน้าที่ตามหลักการที่ควรเป็น ไม่ได้รู้สึกอะไรกับผลตอบรับที่ตามมา

ทั้งนี้จาก ส.ว. 13 เสียง ที่เคยโหวตเห็นชอบนายพิธา ในการโหวตครั้งแรก นอกเหนือจาก 5 คนที่ยืนยันใช้หลักเกณฑ์เดิมในการโหวต แล้วยังมีอีก 2 คน ยังรอดูบริบทอื่นๆ 2 คน ขอไม่ตอบคำถาม และ 4 คน ที่ไม่ได้รับสาย

โดยกลุ่ม ส.ว.ที่รอดูบริบท คือ ศ.เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ที่บอกว่า กำลังติดตามสถานการณ์ด้วยสติ ตอนนี้ยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก โดยตนเองขอไม่ใช้คำว่าเสียงข้างมาก แต่สนับสนุนตามกระบวนการประชาธิปไตยและอยากเห็นรัฐสภาที่เข้มแข็งทำหน้าที่ ไม่อยากเห็นการเมืองไปเล่นบนถนน หรือข่มขู่ ใส่ร้ายฝั่งตรงข้าม ไม่ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขณะที่นายเฉลา พวงมาลัย ก็บอกเพียงสั้นๆ ว่า ตอนนี้กำลังรอดูอยู่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะว่าอย่างไร

ส่วนกลุ่ม ส.ว.ที่ขอไม่ตอบ คือ นายวันชัย สอนศิริ มราบอกเพียงสั้นๆ ว่า “ขอปิดวาจา” และ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ ที่บอกว่าไม่สะดวกในการสื่อสารเรื่องนี้

นอกจากนั้นกลุ่ม ส.ว.ที่ไม่รับสาย ประกอบด้วย พล.ต.ท.ณัฏฐวัฒก์ รอดบางยาง, นางประภาศรี ฉันทบุตร, นายพิศาล มาณวพัฒน์ และนายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ ทำให้ทีมข่าวยังไม่มีโอกาสได้ถามว่า จะตัดสินใจอย่างไรในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้

By admin